ประธานอำนวยการสร้าง

พระพรหมวชิรญาณ
กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาสวัดยานนาวา กรุงเทพฯ
เว็บไซต์ส่วนตัว (คลิ๊ก)




พระพรหมวชิรญาณ เยี่ยมชมการก่อสร้าง  ชมวีดิโอที่เหลือทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง (คลิ๊ก)

ชาติภูมิ[แก้]

พระพรหมวชิรญาณ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ สุทธิพันธุ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา สุทธิพันธุ์) มารดาชื่อ นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา สุทธิพันธุ์)

การบรรพชา และอุปสมบท[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร
วันที่ ๓ เมษายน ๒๔๙๑ ที่วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.๖ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระพุทธิวงศมุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมงฺกโร

การศึกษา/วิทยาฐานะ[แก้]

แผนกธรรม-บาลี
แผนกสามัญศึกษา

การปกครองคณะสงฆ์[แก้]

  • พระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. ๒๕๒๗
  • กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์การบริหารสูงสุดของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. ๒๕๔๔
  • เจ้าอาวาสวัดยานนาวา (พระอารามหลวงกรุงเทพมหานคร (สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. ๒๕๔๔
  • เป็นประจำกองงานเจ้าคณะตรวจการภาค ๓ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๒๑-พ.ศ. ๒๕๑๐
  • เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนเหนือของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๘-พ.ศ. ๒๕๑๐
  • เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๐-พ.ศ. ๒๕๓๐
  • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส พ.ศ. ๒๕๑๖-พ.ศ. ๒๕๔๔

งานการศึกษา[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับ[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับในประเทศ
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่าง ประเทศ ในวันวิสาขบูชา ๒๕๓๕
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (พธ.ด.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ ๗ พฤษภาคม
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาศาสตร์ (คบ.ด.) โดยสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี(อนุมัติปริญญาประจำปีการศึกษา๒๕๔๒) (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชานุเคราะห์ การจัดพิธีถวายปริญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๓)
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์ (ปบ.ด.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา (ศบ.ด.) จากมหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร
เกียรติคุณที่ได้รับในต่างประเทศ
  • พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับโล่ห์เกียรติคุณDistinguished Award สังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย จาก The Board Of Directors Of Asian Human Service Of Chicago
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับเกียรติบัตรยกย่องให้ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งมหานครชิคาโก มีศักดิ์และสิทธิในด้านการเผยแผ่ศาสนาประเพณี และวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ในมหานครชิคาโกและมลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จากมหานครชิคาโก (City Of Chicago) เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณจาก Richard M. Daleyนายก เทศมนตรีมหานครชิคาโก ที่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อชุมชนชาวเอเชีย และชาวอเมริกันในมหานครชิคาโก พร้อมกับได้ให้เกียรตินำเกียรติบัตรดังกล่าวมามอบ ที่วัดธัมมาราม อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องเชิดชูจาก Mr.Paul Simon วุฒิสมาชิกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับเกียรติบัตรจาก Richard M. Daley นายกเทศมนตรีมหานครชิคาโก ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม * ๒๕๔๐ ประกาศยกย่องให้ วันที่ ๒๔ พฤษภาคมทุกปี (ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระพรหมวชิรญาณ) เป็น “วันเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในมหานครชิคาโก สหรัฐอเมริกา”
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องชมเชยจาก George H.Ryan ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการ
เผยแผ่ศาสนาและสงเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายนซึ่งเกียรติคุณตามความในข้อ ๑๐.๒ ที่ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ เป็นต้นมานั้นเป็นเกียรติคุณที่พระสงฆ์ไทยและคนไทยคนแรกได้รับจากสถาบันและบุคคลสำคัญดังกล่าว
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Doctor of Philosophy in Social Science, New Port University U.S.A.,

สมณศักดิ์[แก้]


พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 - ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งฐานานุศักดิ์ ในราชทินนามที่ พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ ฐานานุกรมในพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณณโก)
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งฐานานุศักดิ์ ในราชทินนามที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ ฐานานุกรมในสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุธีรัตนาภรณ์[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชรัตนาภรณ์ บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพประสิทธิมนต์ วิเทศธรรมโกศล ญาณโสภณวิจิตร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีวิเทศธรรมโกศล วิมลสาธุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 - มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลศาสนกิจสิทธิปริณายก ธรรมวิเทศดิลกสุทธิกวีปาพจนโสภณ วิมลสีลาจารวินิฐ ราชวิสิฐวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น